A hub for all COVID-19 vaccination certificate related information
โครงการคอร์เซีย (CORESIA)
นับตั้งแต่มีการนำวัคซีนโควิด 19 มาใช้กับประชากรในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก นานาประเทศเริ่มพิจารณาให้มีการใช้ใบรับรองการได้รับวัคซีน (vaccine certificate) หรือหนังสือเดินทางผู้ได้รับวัคซีน (vaccine passport) เพื่อเป็นเอกสารประกอบการเดินทางตามมาตรการสำหรับวิถีชีวิตใหม่ (new normal) การใช้ใบรับรองการได้รับวัคซีนนี้เป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในและระหว่างประเทศ เนื่องจากช่วยให้การเดินทางและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ กลับมาดำเนินได้ แต่แม้ข้อเสนอนโยบายเรื่องใบรับรองการได้รับวัคซีนจะน่าสนใจและน่านำมาปรับใช้ ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็ยังต้องพิจารณาและออกแนวทางนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เช่น ระยะเวลาการกักตัว หรือ การกำหนดให้มีการแสดงผลตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะต้องคำนึงถึงต้นทุนและประโยชน์ที่จะได้รับด้วย
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore, NUS) ได้มีความร่วมมือดำเนินโครงการคอร์เซีย หรือชื่อโครงการในภาษาอังกฤษ คือ the COVID-19 Vaccination Policy Research and Decision Support Initiative in Asia (CORESIA) ซึ่งเป็นการศึกษาระดับภูมิภาคเกี่ยวกับนโยบายใบรับรองการได้รับวัคซีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและหลักการต่าง ๆ ในการพัฒนาและปรับใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยคำนึงถึงปัจจัยร่วมต่าง ๆ ทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐศาสตร์ สังคม จริยธรรม และการนำไปปรับใช้ได้จริง
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อพัฒนาแนวทางในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเกี่ยวกับนโยบายการใช้ใบรับรองการได้รับวัคซีนเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ผู้กำหนดนโยบายพิจารณา พัฒนา และนำนโยบายดังกล่าวไปปรับใช้ พร้อมเสนอรายการชุดข้อมูลขั้นต่ำ (Minimum Dataset – MDS) ที่จำเป็นในการพัฒนากรอบแนวทางและเพื่อให้แน่ใจว่านโยบายดังกล่าวมีประสิทธิผลด้านความปลอดภัยในการเดินทางข้ามเขตแดน
- เพื่อสร้างศูนย์รวมข้อมูลในระดับภูมิภาคเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการใช้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศต่าง ๆ เช่น เรื่องหนังสือเดินทางผู้มีภูมิคุ้มกันโรค (Immunity Passport) ประสิทธิผลของวัคซีน จำนวนผู้ได้รับวัคซีน หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล แต่เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เพื่อเป็นการสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกไปจากนั้น ผู้กำหนดนโยบายอาจสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลที่ยังไม่ได้อยู่บนช่องทางสาธารณะอีกด้วย
เนื่องจากโครงการคอร์เซียต้องใช้องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา โครงการนี้จึงดำเนินงานโดยได้รับความร่วมมือจากคณะทำงาน และคณะที่ปรึกษา ดังนี้
คณะทำงาน
คณะทำงานของโครงการคอร์เซีย ประกอบด้วยองค์กรสมาชิกจาก 10 ประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งครอบคลุมประชากรรวมกันทั้งสิ้นมากกว่า 3 พันล้านคน ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ลาว สิงคโปร์ อินเดีย และ อินโดนีเซีย
Dr. Anna M. Guerrero
Department of Health, Philippines
Assoc. Prof. Asrul A. Shafie
Universiti Sains Malaysia (USM), Malaysia
Dr. Auliya A. Suwantika
Faculty of Pharmacy, Universitas Padjadjaran, Indonesia
Prof. Gagandeep Kang
Department of Gastrointestinal Sciences, Christian Medical College, India
Assoc. Prof. Hsu Li Yang
Saw Swee Hock School of Public Health, National University of Singapore
Prof. Jeoghoon Ahn
Ewha Womans University, South Korea
Dr. Mayfong Mayxay
University of Health Sciences, Lao PDR
Assoc. Prof. Ryota Nakamura
Hitotsubashi Institute for Advanced Study, Japan
Dr. Yot Teerawattananon
Health Intervention and technology Assessment Program, Ministry of Public Health, Thailand
คณะที่ปรึกษา
คณะที่ปรึกษาประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติในสาขาต่าง ๆ เช่น การสาธารณสุข การพาณิชย์ระหว่างประเทศ ด้านสิทธิมนุษยชน การปกครอง และการทูต
Prof. David Heymann
London School of Hygiene and Tropical Medicine (LSHTM) & World Health Organization (WHO)
Dr. Derrick Heng
Ministry of Health, Singapore
Prof. George F. Gao
Chinese Center for Disease Control and Prevention & Institute of Microbiology, Chinese Academy of Sciences, China
Dr. Go Tanaka
Japan International Cooperation Agency (JICA), Japan
Dr. Kalaiarsu Peariasamy
Dr. Kalaiarsu Peariasamy, Ministry of Health, Malaysia
Dr. Renu Madanlal Garg
WHO Thailand
Dr. Sihasak Phuangketkeow
Royal Thai Government, Thailand
Dr. Suwit Wibulpolprasert
Ministry of Public Health, Thailand
Dr. Supachai Panitchpakdi
Former United Nations and Conference on Trade and Development (UNCTAD)
Prof. Thiagarajan Sundararaman
National Health Systems Resource Centre (NHSRC) and People’s Health Movement (PHM), India
คณะเลขานุการ
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program) หรือ HITAP (ไฮแทป) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 เป็นองค์กรวิจัย กึ่งอิสระ ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีพันธกิจหลัก คือ ศึกษาผลกระทบทั้งบวกและลบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีหรือนโยบายด้านสุขภาพ และนำข้อมูลดังกล่าวไปนำเสนอเพื่อใช้ในการตัดสินใจด้านนโยบายของภาครัฐ เช่น คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ HITAP ยังทำงานในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นการเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้ประเทศเหล่านั้นสามารถทำประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพด้วยตนเอง
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock
จากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญหลายทศวรรษด้านการวิจัย การอบรมและการพัฒนาการด้านระบาดวิทยาและการสาธารณสุขศาสตร์ สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ.2554 ในฐานะเป็นศูนย์การศึกษาแห่งชาติด้านสาธารณสุขของประเทศสิงคโปร์ และยังเป็นสมาชิกของ National University Health System (NUHS) อีกด้วย
สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้สังคมประเทศสิงคโปร์และภูมิภาคมีภาวะสุขภาพที่ดี อีกทั้งทำให้เกิดการพัฒนานโยบายด้านสุขภาพ รวมไปถึงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและงานวิจัยในหลากหลายสาขาวิชา เช่น ระบาดวิทยา โรคติดต่อ การประเมินเทคโนโลยีสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัยและสุขภาวะในที่ทำงาน ระบบประเมินสุขภาพ และงานวิจัยด้านการบริการสาธารณสุข ด้วยความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาวิชานี้เอง ทำให้สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เป็นผู้นำองค์ความรู้และงานวิจัยด้านการสาธารณสุขของเอเชีย
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP)
National University of Singapore (NUS)
โครงการคอร์เซียได้รับการสนับสนุนเงินทุนวิจัยโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นหน่วยงานภาครัฐ ดำเนินงานตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยมีพันธกิจ ดังนี้
- การให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมหลักของประเทศ
- การจัดทำฐานข้อมูลและดัชนีวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
- การริเริ่ม ขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ
- การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย
- การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์
- การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิจัยและนวัตกรรม
- การให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านวิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
HITAP
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ
ชั้น 6 อาคาร 6 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000