แหล่งที่มา: LSE
ผู้เขียน: Dian Faradiba, Hwee-Lin Wee, Joseph Babigumira, Miqdad Asaria, Saudamini Dabak
Victor del Rio Vilas, Yi Wang, Yu Ting Chen
วันที่: 23 ก.ค. 2564
ทีมนักวิจัยจาก สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (SSHSPH NUS), โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP), วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LSE) และ องค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ติดตามการสัมผัสเชื้อ (Contact tracer) ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดตามผู้สัมผัสเชื้อเพื่อที่จะเข้าใจมาตรการที่เหมาะสมระหว่างความเสมอภาคกับประสิทธิผลในการควบคุมโรค แม้ว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นวิธีที่ช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดได้ แต่วัคซีนที่จำกัดและการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดทำได้ยากมากขึ้น อ้างอิงถึงผลการสำรวจเบื้องต้นในไทย พบว่ามีความท้าทายในการทำงานพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องจากบุคคลที่ติดเชื้อ จำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ไม่เพียงพอ ความยากในการติดตามผู้สัมผัสเชื้อบนฐานการแบ่งแยกระหว่างชุมชนเมืองและชนบทหรือประเด็นด้านฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนมาตรการการตรวจสำหรับแรงงานต่างชาติเองก็ตาม นอกจากนี้รัฐอาจจะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการตรวจสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยและอาจขาดรายได้ในช่วงกักตัวซึ่งจะนำไปสู่มาตรการที่ประสบความสำเร็จได้นั่นเอง
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ ที่นี่